ทดสอบกลางภาคเรียน
คำชี้แจง
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์
(100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร
จงอธิบาย
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
- คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด
หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
- ความเสมอภาคไม่เลือกปฎิบัติก็คือใช้บังคับกับประชาชนทุกคนให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันและไม่ให้กระทำความผิดซึ่งทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ให้มีสิทธิเสรีภาพ ผู้ใดฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษตามกฎหมายที่บัญญัติเอาไว้
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ
และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
- เห็นด้วย เพราะ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้นเป็นหลักประกันว่าบุคคลนั้นพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคน
ให้มีศักยภาพที่ดี พร้อมทั้งยังเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น
ตามที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดวิชาชีพครู
ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม
ผุ้ประกอบวิชาชีพควบคุม ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย
การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาที่ตำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชนจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา
จึงจะมีสิทธิประกอบวิชาชีพได้
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
- สถานศึกษาควรมีการวางแผน
รณรงค์ ส่งเสริมการระดมทุนการศึกษาและทุนในการพัฒนาการศึกษา
- จัดทำข้อมูลสารสนเทศ
และระบบการรับจ่ายทุนการศึกษา
ทุนพัฒนาสถานศึกษาให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
- จัดทำรายงาน สรุปผลงาน
เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติคุณผู้สนับสนุนทุนการศึกษา
- จัดการด้านการเงินการบัญชี ให้เป็นไปตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้บริจาค
การลงรายการในเอกสารต่าง ๆ การควบคุมการใช้จ่ายเงิน
รวมทั้งการวางแผนการจัดการรายได้และผลประโยชน์ต่าง
ๆ
- การให้บริการด้านต่าง ๆ
แก่ชุมชน หน่วยงาน
- การขอรับบริจาค การสนับสนุนงบประมาณ
- การจำหน่ายผลิตผลต่าง ๆ
ของสถานศึกษา
- การจัดตั้งกองทุน
- การระดมทุน
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
- มี 3 รูปแบบ คือ การจัดการศึกษาในระบบ
การจัดการศึกษานอกระบบ และ
การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
- การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ ประกอบด้วย
1.
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัยประถมศึกษาและ
มัธยมศึกษา
2.
ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่า
ปริญญา
และปริญญา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
- การศึกษาภาคบังคับ คือ
เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์ซึ่งจะต้องศึกษาจากชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้า
นั้นก็คือ ป.1 – ม.3 ของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คือ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้นก็คือ
ป.1 – ม.6
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร
และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
การ แบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
คือ ให้จัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง ดังนี้
(๑) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๒) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(๑) สำนักงานรัฐมนตรี
(๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๑) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๒) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(๑) สำนักงานรัฐมนตรี
(๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ
จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ
และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม
พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ไม่ผิด
เพราะตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดไว้ว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
แต่มีข้อยกเว้นว่าผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
สามารถไปให้ความรู้ได้
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
- วินัย คือ กฎหมาย กฎ
ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดไห้ปฏิบัติตาม หรือไม่ให้ปฏิบัติ โทษทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. 2551 มี 5 สถาน คือความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
1. ภาคทัณฑ์
เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือนนอกจากนี้ ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย
และมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
2. ตัดเงินเดือน
เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น
ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา 2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
3. ลดเงินเดือน
เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิดความผิดวินัยร้ายแรง
4. ปลดออก
เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ
โดยไม่ได้รับบำเหน็จ
10.ท่านเข้าใจคำว่า
เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
“ เด็ก” หมายความว่า
บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ
หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร
เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด
ๆจนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก
การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี
ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง
ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น